Focusrite Forte
ช่วงนี้ความนิยมในการทำเพลงด้วยตัวเอง
หรือ Home Studio ค่อนข้างมาแรง เหตุผลเพราะช่องทางการนำเสนอผลงานมีมากขึ้น
โดยเฉพาะการมาของ Youtube ที่ช่วยให้คนทำเพลงหลายๆคนมีหนทางในการแสดงผลงานออกสู่สายตาผู้ชมและผู้ฟังมากขึ้น
ทำให้ soundcard ที่มีราคาไม่แพงและคุณภาพดี พากันเข็นออกมากมาย
จะเห็นได้ว่ากระทั่งการใช้งานร่วมกับพวก iOS ทั้ง iPOD
, iPAD และ iPhone ก็มีพวก soundcard และระบบ record ดีๆออกมา support
พวกนี้เยอะมาก
เพราะโลกกำลังจะเปลี่ยนไปสู่ยุคที่ไม่จำกัดการทำเพลงในวงแคบๆอีกต่อไป ใครๆก็สามารถที่จะมี
Studio ส่วนตัวได้ และทำอัลบั้มเพลงเป็นของตัวเองได้ ไม่ต้องนั่งง้อ Studio
ใหญ่ๆอีกต่อไป
Focusrite
เองก็เป็น
1 ในแบรนด์ที่คุ้นเคยกับดีสำหรับคนทำเพลงในระดับ Home Studio ด้วยสนนราคา soundcard
ที่ไม่แพงแต่ให้คุณภาพเสียงที่ดี
เลยจะเป็นที่นิยมสำหรับคนที่งบประมาณจำกัด
ทั้งผู้เริ่มต้นและคนที่ทำงานทางด้านดนตรีอย่างจริงจัง เพราะ Focusrite ก็มีตั้งแต่รุ่นล่างๆไปจนยันรุ่นที่ราคาแพงระยิบที่ใช้ใน
Studio ใหญ่ๆ และยิ่งปัจจุบัน การเข้ามามีบทบาทของ USB2.0 และ USB3.0
ทำให้ปัญหาเรื่อง
delay แบบที่เจอสมัย usb1.1 หมดไป ตัว soundcard ในระดับราคาไม่แพงจึงเริ่มได้เริ่มความนิยมมากขึ้น
ล่าสุดทาง focusrite
จึงออก
Focsurite Forte ซึ่งถือเป็น soundcard ที่สามารถใช้งานแบบพกพาได้
เพราะโดยตัวมันเองใช้กระแสไฟจาก usb เพื่อเลี้ยงระบบได้โดยไม่ต้องต่อไฟจากภายนอก
จริงๆตัว Forte ออกมาก็เพื่อลุยในตลาด soundcard แบบพกพาที่ตอนนี้มีคู่แข่งค่อนข้างน้อย
ที่จะชนกันจริงๆจังๆก็มีแค่ Apogee Duet ว่ากันตามตรง ตัว Focusrite Forte ก็ออกแบบโดยมีพื้นฐานของ
Duet เป็นตัวยืน เพราะทั้ง Design และรูปแบบ Fuction พื้นฐาน
ถือว่าใกล้เคียงกันมากๆ แต่ Apogee Duet ใช้ได้เฉพาะตระกูล iOS และ MacOS
เท่านั้น
แต่ตัว Forte จะรองรับทั้ง PC และ Mac ดังนั้นการใช้งานของ Forte เลยจะยืดหยุ่นกว่า
โครงสร้างภายนอก
ดูจากรูปอาจจะคิดว่าขนาดไม่เท่าไหร่
แต่ความจริงก็ค่อนข้างใหญ่เอาเรื่อง ขนาดของตัวเครื่องจะอยู่ราวๆ 1 ฝ่ามือกว่าๆ
จะว่าเล็กมันก็ไม่เล็ก แต่จะว่าใหญ่ก็ไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้น
ระดับอยู่ขนาดนี่พอจะพกพาได้สบายๆโดยไม่ขัดเขินหรือลำบากกระเป๋า
จริงๆถือเดินไปเดินมาก็ดูเท่ห์ดีนะครับ เพราะตัว Body ของ Forte
ใช้อลูมีเนียมชุบอโนไดซ์สีบรอนซ์เงิน
ดูหรูหราและแข็งแรงมากๆ น้ำหนักก็พอเอาเรื่องอยู่
แต่ก็ให้ความรู้สึกดีว่าเครื่องเคราข้างในดูแน่น
จุดเด่นก็คงอยู่ในส่วนของหน้าจอที่ใช้จอแบบ OLED แสดงผล และมี Volume
สารพัดประโยชน์อยู่ตรงกลาง
ที่เรียกว่า Volume สารพัดประโยชน์ก็เพราะมันสามารถ control ได้นอกเหนือจากเรื่องเสียงได้ด้วย
และยังใช้งานร่วมกับ Software ทำเพลงทั้งหลาย หรือที่เรียกกันว่า DAW นั่นแหละครับ
เพราะมันจะสามารถ Control การทำงานระหว่างการใช้ DAW ในการบันทึกและตัดต่อ
Track ด้วย
Forte เป็น soundcard
ที่รองรับ
2 IN 4 OUT หรือก็คือ มีช่อง input 4 ช่อง และช่อง output 2 ช่อง หลายๆคนอาจจะงงๆว่ามันจะรองรับไมค์ได้ยังไงในเมื่อไม่มีช่องต่อไมค์
แต่ตัว Forte จะให้สายพิเศษที่เป็นสายแยกใช้งานกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Midi , ไมค์ และอื่นๆ
พูดตามตรงคือมันก็เหมือนของ Apogee Duet นั่นเอง แต่ Apogee จะพิเศษกว่าตรงที่มีช่อง
USB ซึ่งรองรับ Midi รุ่นใหม่ๆโดยตรง ในขณะที่ของ Forte ยังต้องผ่านสายแยกอยู่
ในส่วนของการใช้งานร่วมกับ
Condenser ไมค์ ตัว Forte สามารถใช้งานได้สบายๆ
เพราะโดยตัวมันเองสามารถจ่ายไฟเลี้ยง หรือที่เรียกกันว่า “Phantom” ได้ด้วยและจ่ายกระแสได้สูงสุดถึง
48v แต่มีข้อแม้ว่าการใช้งานแบบ Phantom จำเป็นจะต้องต่อ
Adaptor ตลอดเวลา ที่สำคัญถ้าเราไม่ต่อ Adaptor ภาค amp
จะลดกำลังลงมาจำกัด
Volume สูงสุดอยู่ที่ 18dB เท่านั้น
ช่อง USB
ใช้เป็นช่องมาตรฐานสำหรับ
Soundcard และ DAC ทั่วไปคือเป็นช่อง USB Type B ในขณะที่ของ Duet จะเป็นแบบ MiniUSB
ซึ่งถ้าพูดก็ตามตรงผมว่า คุณภาพเสียงของ USB Type B จะให้คุณภาพที่ดีกว่า MiniUSB อาจจะเพราะหน้าสัมผัสของทาง
USB Type B จะมีพื้นที่มากกว่า MiniUSB ทำให้การส่งผ่านข้อมูลทำได้ดีกว่าเล็กน้อย
เสียงจึงดีกว่า แต่เรื่อง Transfer Rate ไม่เคยเอามาทดสอบเหมือนกันนะครับ แต่ถ้าให้เดา
ทาง USB Type B น่าจะดีกว่าในเรื่องความเสถียรนะครับ เท่าที่ผมลองหาอ่านจาก Datasheet
เหมือนกับว่าการออกแบบให้เป็น
USB-A มา USB-B ก็เพื่อใช้งานร่วมกับ Device อื่นๆ เช่นพวก Printer หรือพวก
เครื่องดนตรีต่างๆ เพราะถ้าตัวรับเป็น USB-B เราจะสามารถ Control
ชิ้นดนตรีนั้นๆได้
ในขณะที่ USB-A หรือก็เต้า USB ที่เราเห็นกันทั่วๆไปจะเป็น Host Port คือแค่เท่าหน้าที่รับส่งข้อมูลอย่างเดียวเท่านั้น
ดังนั้นเราเลยไม่ค่อยจะเห็นพวก Device อื่นๆทั้ง DAC , Soundcard etc. ใช้ Port
รับเป็นตัว
USB-A ยกเว้นบางอย่างที่เป็นข้อยกเว้น เช่น Portable DAC อย่าง Fostex
HP-P1 หรือ Sony PHA-1 ที่ใช้ Port USB-A เป็นตัวรับ
เนื่องมาจากทั้งคู่เป็น DAC ที่ support กับพวก
iOS อย่าง
iPOD , iPAD และ iPhone ดังนั้นจึงต้องใช้มาตรฐานของ Apple เป็นหลัก
จริงๆแล้ว DAC ที่ออกแบบมาเพื่อ Support กับ iOS จะเป็นลักษณะนี้ทั้งหมดครับ
จุดเด่นของ Forte จริงๆจะอยู่ที่ หน้าจอแสดงผลที่เป็นแบบ Touchscreen
และ
Volume Control แบบ One For All ที่สามารถ Control ทุกอย่างได้โดยผ่าน
Volume ตัวนี้ตัวเดียว ถ้าใครเคยชินกับ iPOD ก็นึกภาพออกว่ามันคือ
Click Wheel ดีๆนี่เอง แต่มันก็ไม่เชิงว่าจะควบคุมได้ครบทุกส่วนนะครับ
เพราะอย่างการเปลี่ยนเมนูไปในแต่ละ section ของ soundcard
ก็ยังคงต้องใช้ร่วมกับระบบ
touchscreen บนหน้าจออยู่ดี
โดยส่วนตัวผมก็มองว่ามันก็ไม่จำเป็นจะต้องไปพึ่งพาแต่ตัว Knob Control อย่างเดียว
เพราะมันไม่ใช่ iPOD และการใช้งานร่วมกันมันใช้งานได้ง่ายและคล่องตัวกว่าด้วยครับ
จริงๆตัว Forte
จะมี
Software ที่ใช้งานร่วมกับมันโดยเฉพาะอยู่ 2 ตัวคือ Forte
Control และ Midnight Plug-in suit ซึ่งตัว Forte Control ก็เป็น software
มาตรฐานสำหรับการปรับแต่งพื้นฐานให้
Forte อยู่แล้ว มันก็เหมือนพวก AC97 Mixer หรือ Creative
Suit Mixer ที่เป็น software ควบคุมเรื่องเสียงบนเครื่อง แต่ของ Forte จะดีกว่าเพราะมันใช้งานร่วมกับพวก
DAW ได้เลย โดยตัวหน้าจอแสดงผลของ software จะเหมือนดึงเอาจากในเครื่องมาขยายให้ดูดีและชัดเจนขึ้น
ส่วน Midnight Plug-in Suit ก็คือ Software ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็น
skin ให้กับ Forte อีกที โดยตัว Midnight Plug-in Suit จะแสดงผลออกมาให้เป็นเหมือน
soundcard ของ Focusrite รุ่นใหญ่
ซึ่งหน้าที่มันหน้าจากจะช่วยให้คนที่เคยชินกับ soundcard เดิมๆทำงานได้ง่ายขึ้นแล้ว
มันยังเสริมในส่วนที่ forte ขาดหายไปอย่างเช่น หน้าจอ VU meter และเพิ่มส่วน DSP
ต่างๆเข้ามาเช่น
การปรับ GAIN , การปรับ EQ เป็นต้น
ซึ่งจริงๆแล้วการเพิ่มเข้ามาของ Midnight Plug-in Suit ก็ช่วยเสริมส่วนที่ขาดให้
Forte มีความสมบูรณ์ในการใช้งานได้มากขึ้นด้วยครับ
โครงสร้างภายใน
ตัว Focusrite
Forte เลือกเอา DAC ยอดนิยมอย่าง cs4398 ซึ่งเป็น
Chip จากทาง Cirrus Logic โดยที่ตัว DAC เองสามารถรองรับ
bit rate ได้สูงสุดที่ 24bit/192k และยังรองรับ Direct Stream Digital Mode ของ SACD
ด้วย
แน่นอนว่านี้คือหนึ่งใน Chip DAC ที่ดีน่าจะที่สุดของทาง Cirrus Logic แล้ว
และยังเป็น DAC ตัวเดียวกันกับที่ใช้ใน X-Fi Elite Pro ซึ่งเป็น soundcard
ที่แพงที่สุดในซีรี่ย์ของ
X-fi ด้วย แต่ส่วนของ opamp ภาคขยายที่ใช้งานร่วมกับพวก Output Stage ผมยังหาข้อมูลไม่ได้ครับ
เท่าที่ค้นๆมา ดูแล้วน่าจะเป็น NE5532 ของ TI
มากที่สุด
ผมไม่แน่ใจว่าเราจะแกะเปลี่ยน opamp เองได้หรือเปล่า
เพราะผมไม่กล้าแกะเครื่องมาเปิดดูโครงสร้างด้านใน ตาม web ต่างๆเองก็ไม่ได้ลงรายละเอียดไว้เพราะของมันถือว่าค่อนข้างใหม่อยู่
ข้อมูลเลยน้อยมากๆ
แต่เท่าที่ลองใช้งานร่วมกับ
Jriver เอง ปรากฏว่า ถ้าใช้งานร่วมกับ driver ตัวอื่นๆที่ไม่ใช่
ASIO จะไม่สามารถใช้งาน 24bit ได้ ผมก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็นเพราะอะไร
แต่เท่าที่ลองอย่าง Kernel Streaming และ WASAPI มันไม่ยอมให้เล่น
24bit ท่าเดียว ต้องย้อนกลับมาใช้ 16bit/192k แทนถึงจะเล่นได้
ถ้าเป็น ASIO จะวิ่งเต็มๆที่ 24bit/192k เลยทีเดียว ไม่มั่นใจว่าเป็นเพราะ software
ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับ
ASIO เป็นหลักหรือเปล่า ทำให้ driver อื่นๆกลายเป็นไม่
support ไปเลย
พอดีในเครื่องผมไม่ได้ลง Foobar ไว้เลยไม่ได้ลอง test Driver หลายๆแบบกับ foobar
ด้วย
แต่เดาว่าอาการไม่น่าจะหนีกันเท่าไหร่ครับ
เรื่องของเสียง
ถ้าใครคุ้นเคยกับแนวเสียงแบบ
Creative มาก่อน ตัว Forte จะมีความคล้ายคลึงกันมากเลยครับ ตัว background
noise ค่อนข้างน้อยและเงียบสงัดดีมากๆ การแยกชิ้นดนตรีถ้าเทียบกับ DAC
อย่าง
Dr DAC2 ที่มีราคาและขนาดใกล้ๆกันผมว่า Dr DAC2 แยกชิ้นดนตรีได้ขาดกว่าครับ
แต่ส่วนหนึ่งอาจจะมาจาก image ของ Forte ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ทำให้และ
soundstage กับมิติไม่ได้กว้างเท่า Dr DAC2 และยังมีความอวบอิ่มที่ดีกว่าและหนากว่า
เลยทำให้ชิ้นดนตรีแลดูค่อนข้างใกล้ชิดกันกว่าของ Dr DAC2 แต่ถ้าไม่เทียบกัน
โดยรวมก็ต้องถือว่าการแยกชิ้นดนตรีก็อยู่ในระดับที่ดีทีเดียว
เสียงกลางของ Forte
จะออกอวบอิ่มซึ่งปรกติจะไม่ค่อยเจอลักษณะแนวเสียงแบบนี้ใน
DAC อยู่แล้ว เพราะ DAC ส่วนมากจะเน้นเนื้อมากกว่า แต่ Forte กลับเน้นมวลเป็นหลัก
คนที่ชอบเสียงกลางมวลเยอะๆหน่อยน่าจะถูกใจมาก
เห็นมวลเยอะแบบนี้แต่เนื้อดีเหมือนกันนะครับ
ตัวเนื้อเสียงมีน้ำมีนวลและแน่นเลยทีเดียว ที่สำคัญคือเสียงไม่ขุ่นหรือหนามาเกินไป
แต่เสียงที่ได้จะแน่น มวลดี และชัดเจนมากๆ อย่าลืมว่ามันเป็น soundcard ที่ใช้ทำงานมากกว่าเป็น
soundcard เพื่อการฟังเพลงทั่วๆไป ดังนั้นกลางมาชัดแน่นอนแบบหายห่วง
สไตล์เสียงกลางผมว่าค่อนข้างคล้ายคลึงกับ Creative EMU1010 นะครับ
เสียงสูงชัดเจนแต่ไม่คมกริบ
คือเสียงสูงใสและได้ยินชัดเจนดีมากๆ แถมเสียงไม่ออกแข็งๆแบบ soundcard บางรุ่นด้วย
ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องแปลกนิดนึงเพราะตัว soundcard ที่เน้นออกมาเพื่อใช้งานมักที่ราคาไม่แพงมาก
มักจะให้เสียงสูงที่กระด้าง กลางที่บาง แต่ Forte ให้เสียงสูงที่ดีกว่า
หัวโน้ตแน่นชัดและกระชับ เนื้อที่ดีไม่แห้งและบาง แต่ปลายจะหายตัวไวมากๆ
ถ้าพูดถึงบาลานซ์ของเสียงผมว่า กลางกับเบสจะโดดเด่นกว่าเสียงสูงอยู่นิดหน่อยครับ
อันนี้จะเหมาะกับคนที่ไม่ชอบเสียงสูงคมๆแสบๆบาดหู
แต่ชอบที่เสียงสูงให้ความละมุนละไมมากกว่า
แน่นอนว่าถ้ากลางมาอิ่ม
เสียงเบสย่อมมาเต็ม เบสของ Forte มาครบทั้ง impact , middle และ deep
ครับ
แต่เบสที่ได้ไม่บวมเลย แถมยังแน่นกระชับมาเป็นลูก
และแยกตัวออกจากชิ้นดนตรีอื่นๆได้ชัดเจน
โดยเฉพาะเสียงไลน์ของกีต้าร์เบสกับดรัมเบสที่ปรกติย่านเสียงจะขี่ๆกันอยู่ ตัว Forte
จะจับแยกดึงออกจากกันไปอยู่คนละส่วนทำให้ได้ยินเสียงไลน์กีต้าร์เบสและดรัมเบสที่เดินเมโลดี้ไปพร้อมๆกันได้อย่างชัดเจน
แต่การแยกระดับนี้ต้องใช้หูฟังดีๆช่วยนิดนึงนะครับ ถ้าหูฟังธรรมดาก็ได้ยินแบบบางๆ
แต่ถ้าหูดีๆแล้วต่อ forte กับแอมป์จะช่วยส่งให้ได้ยินชัดเจนมากยิ่งขึ้น
โดยรวมแล้วเรื่องเสียงของ
Forte จะไม่ค่อยออกแนว “Monitor นิยม” ที่เน้นชัดอย่างเดียวเท่าไหร่
แต่เจืออารมณ์ที่เหมาะกับการฟังเพลงลงไปด้วย คล้ายๆกับที่ Creative เคยทำไว้ใน EMU
series ทำให้เหมาะจะเอาไปใช้สำหรับการฟังเพลงมากๆ
และยังมีขนาดที่ถือว่าพกพาได้ง่าย ใช้งานสะดวกแถมดีไซน์ก็ออกมาดูดีสวยงาม
วางโชว์ได้ไม่อายใคร ถ้าลืมพกหม้อแปลงไปก็ยังใช้งานได้ แม้จะโดนล๊อคไว้ที่ 18dB ก็ตาม แต่ถ้าใครใช้หูฟังขับยากนิดหน่อยก็คงจะต้องพกหม้อแปลงไปด้วยครับ
เพราะถ้าไม่มีนี่ถึงกับขับไม่ออกกันเลยทีเดียวครับ คู่แข่งโดยตรงก็น่าจะเป็น Apogee DUET ตัวเดียว ใครที่หา soundcard ที่เน้นการใช้งานที่ง่าย พกพาได้
เสียงอยู่ในระดับที่ดี ตัวนี้ก็ตอบโจทย์ได้ดีทีเดียวครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น